วันโอโซนโลก หรือ World Ozone Day ตรงกับวันที่ 16 กันยายนของทุกปี ถูกกำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) เพื่อให้ทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของโอโซน และเป็นการรำลึกถึงพิธีสารมอนทรีออล ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการใช้สารเคมีที่ทำลายและส่งผลกระทบต่อชั้นโอโซน
โอโซนคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร?
โอโซน (Ozone) เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยออกซิเจน 3 อะตอม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศโลก โดยโอโซนธรรมชาตินั้นจะพบในชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere Ozone) ทำหน้าที่ในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ที่แผ่มายังโลก
หากชั้นโอโซนธรรมชาติถูกทำลายจะทำให้ชั้นโอโซนกลายเป็นช่องโหว่หรือหลุมโอโซน (Ozone Hole) จนส่งผลให้รังสี UV สามารถแผ่มายังพื้นผิวโลกได้โดยตรง ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก
การลดลงของโอโซนเกิดจากอะไร?
การลดลงของโอโซน มีสาเหตุมาจากการปล่อยสารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbons) หรือสาร CFCs ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากโรงงานอุตสาหกรรมและยังถูกใช้เป็นส่วนประกอบในอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เราใช้งานกันในชีวิตประจำวันอีกด้วย
วันโอโซนโลกกับพิธีสารมอนทรีออล
เมื่อโอโซนธรรมชาติถูกทำลายจนกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั่วโลก พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนจึงเกิดขึ้นเพื่อควบคุมการใช้สารเคมีและเพื่อป้องกันการทำลายชั้นโอโซนธรรมชาติ โดยประเทศภาคีได้ร่วมลงนามในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 และข้อกำหนดดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน
ปัญหาเรื่องโอโซนถูกทำลายนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะหากพลังงานความร้อนบนพื้นผิวโลกมากขึ้น นอกจากจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลกแล้วนั้น ยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศอีกด้วย อย่างเช่น น้ำในมหาสมุทรขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ระดับน้ำในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก