“มาตรการ LTV” ข้อควรรู้สำหรับผู้จะกู้ซื้อที่อยู่อาศัย
30 ก.ย. 2021
1 min read
0
7
0
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออันเกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือ “มาตรการ LTV” เพื่อป้องกันการเก็งกำไร และปัญหาฟองสบู่ในช่วงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมได้
LTV คืออะไร?
มาตรการ LTV อธิบายง่ายๆ ก็คือ เกณฑ์ที่กำหนดวงเงินที่ผู้กู้จะกู้ซื้อบ้านได้ หรือกำหนดว่าผู้กู้จะต้องวางเงินดาวน์ขั้นต่ำเท่าไหร่นั่นเอง โดย LTV ย่อมาจาก Loan to Value Ratio หมายถึง อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 1. บ้านราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท และ 2. บ้านราคาเกิน 10 ล้านบาท
ตัวอย่างเช่น หากบ้านราคา 2 ล้านบาท และกำหนดให้ LTV = 90% หมายความว่าเราจะกู้เงินเพื่อซื้อบ้านได้เพียง 1.8 ล้านบาท (90% x 2 ล้าน) และต้องวางเงินดาวน์อีก 2 แสนบาทสำหรับส่วนที่เหลืออีก 10% ของราคาบ้าน
อัปเดตมาตรการ LTV
สำหรับมาตรการ LTV เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 ต่อมาในวันที่ 21 ต.ค. 64 ธปท. ได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการ LTV เป็นการชั่วคราว โดยปรับเกณฑ์ให้กู้ได้สูงสุด 100% เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์
ล่าสุด เมื่อ 31 ต.ค. 65 ที่ผ่านมา ธปท. ได้ประกาศไม่ต่ออายุการผ่อนคลายมาตรการ LTV ซึ่งจะครบกำหนดภายใน 31 ธ.ค. 65 นี้ เนื่องจากเล็งเห็นว่าภาคอสังหาฯ เริ่มทยอยฟื้นตัวกลับมาเติบโตได้ดี เท่ากับว่าผู้ที่จะกู้ซื้อบ้านตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นไป จะต้องกลับไปใช้หลักเกณฑ์ LTV เดิม คือ ผู้จะกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ต้องวางเงินดาวน์ 10-20%
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย