
ภาษีที่ดิน คิดยังไง ? จัดการยังไงได้บ้าง ? ฉบับปี 2025
ก.พ. 21
2 min read
0
1
0

ภาษีที่ดิน คิดยังไง ? จัดการยังไงได้บ้าง ? ฉบับปี 2025
เนื้อหาทั้งหมดในเรื่องของภาษีที่ดินมีดังนี้
ภาษีที่ดินคืออะไร
ใครต้องจ่ายภาษีที่ดิน ?
วิธีคำนวณภาษีที่ดิน
วิธีชำระภาษีที่ดิน
ไม่จ่ายภาษีที่ดินได้ไหม ?
วิธีลดภาษีที่ดิน
ที่ดินเปล่าทำอะไรดี ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ?
6 สิ่งพื้นฐานต้องรู้ของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เข้าใจได้ภายใน 5 นาที
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ต้องจ่ายให้ภาครัฐทุกปี โดยอัตราภาษีจะ แตกต่างกันไปตามประเภทของทรัพย์สิน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะของประเทศ วันนี้ LAD สรุปประเด็นสำคัญให้เข้าใจง่ายภายใน 6 ข้อ ดังต่อไปนี้!
1. ใครต้องจ่ายภาษีที่ดิน ?
ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนด ต้องเสียภาษี ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ :
ที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโด ที่ใช้เป็นที่พักอาศัย
ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เช่น ที่ดินสำหรับทำไร่ ทำนา หรือเลี้ยงสัตว์
ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม เช่น อาคารพาณิชย์ ห้างร้าน โรงงาน โกดัง
ที่ดินรกร้าง/ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เสียภาษีสูงสุด และจะเพิ่มขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้นาน

2. วิธีคำนวณภาษีที่ดิน
คำนวณจาก มูลค่าทรัพย์สิน x อัตราภาษีที่กำหนด โดยหลักๆ มีแนวทางดังนี้:
บ้านหลังแรก อาจได้รับ การยกเว้นภาษี หากมูลค่าไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
ที่ดินเกษตรกรรม มักมีอัตราภาษีต่ำกว่า
ที่ดินรกร้าง อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นหากไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นเวลานาน
" วิธีคำนวณภาษีที่ดินแบบไม่พลาด"
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่เจ้าของที่ดิน อาคาร ห้องชุด หรือผู้ใช้ประโยชน์จากทรั พย์สินต้องจ่ายทุกปี ถ้าคำนวณไม่ถูกคุณอาจเสียเงินเกินจำเป็น วันนี้ LAD จึงจะมาแนะนำ 5 ขั้นตอนคำนวณภาษีที่ดิน แบบเข้าใจง่าย พร้อมยกตัวอย่างให้สามารถนำไปใช้งานได้จริง !
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ตรวจสอบมูลค่าตลาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้จากกรมที่ดิน หรือสำนักงานเขต
ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบประเภทของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
อัตราภาษีจะถูกกำหนดตามประเภทการใช้ประโยชน์ ดังนี้:
ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย: อัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 0.3% ของมูลค่าทรัพย์สิน
มูลค่าไม่เกิน 25 ล้านบาท: อัตรา 0.03%
มูลค่า 25-50 ล้านบาท: อัตรา 0.05%
มูลค่าเกิน 50 ล้านบาท: อัตรา 0.10%
ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม: อัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 0.15% ของมูลค่าทรัพย์สิน
มูลค่าไม่เกิน 75 ล้านบาท: อัตรา 0.01%
มูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตรา 0.03%
มูลค่า 100-500 ล้านบาท: อัตรา 0.05%
มูลค่า 500-1,000 ล้านบาท: อัตรา 0.07%
มูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท: อัตรา 0.10%
ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม: อัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 1.2% ของมูลค่าทรัพย์สิน
มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท: อัตรา 0.3%
มูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตรา 0.4%
มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตรา 0.5%
มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตรา 0.6%
มูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท: อัตรา 0.7%
ที่ดินรกร้างว่างเปล่า: อัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 1.2% ของมูลค่าทรัพย์สิน และหากปล่อยรกร้างติดต่อกันเกิน 3 ปี อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นเป็น 3%
มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท: อัตรา 0.3%
มูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตรา 0.4%
มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตรา 0.5%
มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตรา 0.6%
มูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท: อัตรา 0.7%
ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบสิทธิ์หักมูลค่าฐานภาษีที่ได้รับยกเว้นบุคคลธรรมดามีสิทธิ์ได้รับการยกเว้นภาษีบางส่วน
ที่ดินเกษตรกรรม – ยกเว้น 50 ล้านแรก
ที่อยู่อาศัย (มีชื่อในทะเบียนบ้าน) – ยกเว้น 50 ล้านแรก
เฉพาะสิ่งปลูกสร้าง (ไม่มีที่ดิน) – ยกเว้น 10 ล้านแรก
ขั้นตอนที่ 4 คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย
สูตรคำนวณภาษี
ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง - มูลค่าฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น) x อัตราภาษี(%))
ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบสิทธิ์ลดหย่อนภาษี
บ้านหลังแรกที่มูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท อาจได้รับการยกเว้น
ที่ดินเกษตรกรรมสำหรับบุคคลธรรมดา อาจได้รับอัตราภาษีต่ำ
ตัวอย่างการคำนวณ
ตัวอย่าง: นายเอ มีบ้านพร้อมที่ดินมูลค่า 75 ล้านบาท และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับมูลค่า 50 ล้านบาทแรก ส่วนที่เหลือ 25 ล้านบาทจะถูกคำนวณภาษีที่อัตรา 0.03% ซึ่งเท่ากับ 7,500 บาท
3. วิธีชำระภาษีที่ดิน
สามารถชำระผ่านช่องทางดังนี้:
สำนักงานเขตหรือเทศบาลในพื้นที่ของที่ดินของท่าน
ระบบออนไลน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ของที่ดินของท่าน
เคาน์เตอร์ธนาคารที่รองรับ
4. ไม่จ่ายภาษีที่ดินได้ไหม ?
ถูกปรับ และ คิดดอกเบี้ย
อาจถูกยึดทรัพย์สิน หรือถูกฟ้องร้องทางกฎหมาย
อย่าลืม! ภาษีที่ดินต้องจ่ายทุกปี รีบเช็กสิทธิ์ คำนวณให้ถูกต้อง จ่ายให้ทันเวลา ป้องกันค่าปรับ! สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างละเอียด สามารถศึกษาได้จา กเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. วิธีลดภาษีที่ดิน
ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ เช่น ทำเกษตรกรรมหรือปล่อยเช่า
ตรวจสอบสิทธิ์ลดหย่อนภาษี เช่น บ้านหลังแรกหรือที่ดินเกษตรกรรม
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีที่ดิน

6. ที่ดินเปล่าทำอะไรดี ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ?
LAD ขอแนะนำวิธีในการดำเนินการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทีนิยมในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ประโยชน์ที่ดินในการลดภาษีที่ดินของท่าน โดยหลักๆแล้วมี 3 ข้อดังนี้

แบ่งแปลงให้เล็กลง
หากถือครองที่ดินแปลงใหญ่ และยังไม่มีแผนในการพัฒนาในช่วง 5 – 10 ปี ลองแบ่งแปลงที่ดินให้เล็กลง เพราะภาษีคิดแบบขั้นบันได ยิ่งที่ดินใหญ่ ยิ่งเสียภาษีมาก

สร้างบ้านหรือสิ่งปลูกสร้าง
เพียงสร้างบ้านหรือสิ่งปลูกสร้าง ก็สามารถเปลี่ยนสถานะที่ดินเป็นที่อยู่อาศัย และสามารถลดอัตราภาษีลงได้ โดยการสร้างสิ่งปลูกสร้างยังสามารถนำไปปล่อยเช่า หรือ ทำกิจการอื่นๆนอกจากที่อยู่อาศัยได้ แต่ทั้งนี้ การทำพาณิชยกรรมในพื้นที่อาจต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนา เพื่อให้ทราบถึงสมมติฐานการลงทุนที่เหมาะสม และต้องมีการเปรียบเทียบกับการปล่อยให้ที่ดินรกร้างและเสียภาษีในอัตราที่มากขึ้น

เปลี่ยนเป็นที่ดินเกษตรกรรม
หากยังไม่อยากปลูกสร้าง ลองใช้พื้นที่เพาะปลูก ทำเกษตรกรรม นอกจากช่วยลดภาษี ยังสามารถสร้างรายได้ได้อีกทางหนึ่ง โดยสามารถดูข้อมูลราคาเฉลี่ยของผลผลิตทางการเกษตร เพื่อดูความเหมาะสมในการเพาะปลูกผ่านทาง เวปไซต์สำนักงานเศรษฐกิจทางการเกษตร หรือ กรมการค้าภายใน เบื้องต้น และ ควรศึกษาข้อมูลด้านการเพาะปลูกเพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงในการทำการเกษตรเช่นกัน
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
กฎหมายภาษีที่ดินกำหนดให้ที่ดินบางประเภท ได้รับการยกเว้นหรือได้รับส่วนลดภาษีภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้:
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการยกเว้นภาษี 100%:
ที่ดินของรัฐ ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น โรงเรียน วัด โรงพยาบาล และถนนสาธารณะ
ที่ดินที่ใช้เพื่อการเกษตรขนาดเล็ก เจ้าของต้องเป็นบุคคลธรรมดาและพื้นที่ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
ที่ดินขององค์กรการกุศลหรือศาสนา เช่น วัด โบสถ์ หรือสุเหร่า
ที่ดินของสถาน ทูตและองค์การระหว่างประเทศ ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
การลดภาษีที่ดิน 50% : เจ้าของที่ดินบางประเภทมีสิทธิได้รับส่วนลดภาษี ได้แก่:
ที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์บางประเภท เช่น ที่ดินที่ให้เช่าทำเป็นโรงเรียน โรงพยาบาลเอกชน หรือสถานที่สาธารณะที่ไม่แสวงหากำไร
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ระหว่างการพัฒนา เช่น โครงการที่อยู่อาศัยที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง (ได้รับลดหย่อนภาษีเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนเปิดใช้งาน)
การลดภาษีที่ดิน 90% เพื่อสนับสนุนการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและลดภาระให้ประชาชน ได้แก่:
ที่ดินที่ใช้ทำเกษตรกรรม ที่ดินประเภทนี้เสียภาษีในอัตราต่ำที่สุด โดยเฉพาะสำหรับบุคคลธรรมดา
ที่ดินที่ถูกเวนคืนบางส่วน แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ เจ้าของที่ดินยังสามารถใช้พื้นที่ที่เหลืออยู่ได้ตามกฎหมาย
พัฒนาอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด?
ทำที่อยู่อาศัย – สร้างบ้าน/คอนโดให้เช่า หรือแบ่งขายเป็นแปลงย่อย
ทำเกษตรกรรม – เกษตรอินทรีย์ หรือให้เช่าทำเกษตร
ทำเชิงพาณิชย์ – อาคารพาณิชย์ ร้านค้า โฮมออฟฟิศ หรือโครงการมิกซ์ยูส
เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม – บริจาคเพื่อสาธารณะ หรือพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียว
6 ข้อนี้คือพื้นฐานสำคัญของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ช่วยให้คุณเข้าใจและวางแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม ทั้งในเรื่องของมูลค่าทรัพย์สิน อัตราภาษีที่เปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย และแนวทางลดหย่อนที่อาจช่วยให้คุณบริหารทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะที่ดินของคุณมีมูลค่ามากกว่าที่คิด! วางแผนให้ดี ใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ ลดภาษีได้ สร้างรายได้อีกต่างหาก! หากท่านต้องการคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ เชิญปรึกษากับ LAD ผู้ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อย่างมีประสิท ธิภาพ ทีมงานของเราพร้อมที่จะช่วยท่านในทุกขั้นตอน เพื่อให้ท่านได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่ท่านมีอยู่!
ติดตามบทความต่อไปของ LAD ที่จะมาเฉลยวิธีการ "ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง" อย่างถูกต้องและคุ้มค่าที่สุด! อย่าพลาด
ขอขอบคุณข้อมูล :
https://www.itax.in.th/pedia/ภาษีที่ดิน/
https://www.papertree.in.th/?p=615