
อนันดาฯ ชี้แจงแนวทางแก้ไขปัญหา “แอชตัน อโศก” หลังถูกเพิกถอนใบอนุญาตฯ
28 ส.ค. 2023
1 min read
0
1
0

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 หลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการ “แอชตัน อโศก” (Ashton Asoke) กลายเป็นประเด็นร้อนสะเทือนวงการอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากอาคารแอชตัน อโศก เป็นอาคารสูงขนาดใหญ่พิเศษที่มีทางเข้า-ออกของโครงการฯ สู่ถนนสาธารณะ ความกว้างไม่ถึง 12 เมตร ซึ่งขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ในวันเดียวกัน (27 ก.ค. 66) บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ก็ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจง โดยยืนยันว ่าการทำโครงการแอชตัน อโศก ได้มีการตรวจสอบประเด็นทางกฎหมายอย่างรอบคอบ อีกทั้งยังผ่านการพิจารณาอนุมัติในการทำโครงการฯ จากหน่วยงานของรัฐ และเชื่อถือว่าการขออนุมัติของหน่วยงานราชการทุกฝ่ายนั้นชอบด้วยกฎหมาย
ล่าสุด วันที่ 23 สิงหาคม 2566 บริษัทอนันดาฯ ได้รายงานความคืบหน้าและผลการดำเนินงาน หลังจากที่แอชตัน อโศก ถูกเพิกถอนใบอนุญาตฯ โดยในช่วงระยะเวลาประมาณ 14 วัน ที่ผ่านมา ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานและประชุมหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับชี้แจงและสรุปถึงประเด็นสำคัญของแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อเร่งหาทางออกให้กับกรณีดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
การดำเนินการของบริษัทฯ ในช่วง 14 วัน ภายหลังศาลปกครองสูงสุดพิพากษา
แจ้งความคืบหน้าการดำเนินงานกับลูกบ้าน
หารือกับสถาบันการเงินหลัก
ประชุมหารือแนวทางแก้ไขกับ รฟม.
ประชุมหารือแนวทางแก้ไขกับสำนักการโยธา กทม. (สนย.)
ผู้บริหารร่วมประชุมกับคณะกรรมการฯ โครงการ
สรุป 5 แนวทางแก้ไขปัญหา ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
แนวทางแก้ไขที่ 1 ยื่นขอรับใบรับแจ้งการก่อสร้างฯ โดยหาที่ดินเพิ่มเติม
บริษัทอนันดาฯ ได้เตรียมแนวทางที่หลากหลายในการจัดหาที่ดิน และคาดว่าจะได้ข้อสรุปในการหาที่ดินโดยเร็วที่สุด ซึ่งใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 6 เดือน นับจากวันที่ได้ที่ดินเพิ่มเติม
แนวทางแก้ไขที่ 2 ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้พิจารณาพิพากษาคดีใหม่
บริษัทอนันดาฯ กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเงื่อนไขและรายละเอียด เพื่อขอพิจารณาพิพากษาใหม่ ซึ่งคาดว่าจะยื่นภายในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา
แนวทางแก้ไขที่ 3 ประสานเจ้าของเดิม ให้ขอคืนที่ดินที่ถูกเวนคื นจาก รฟม.
บริษัทอนันดาฯ อยู่ระหว่างการประสานเจ้าของที่ดินเดิม เพื่อขอคืนที่ดินจาก รฟม.
แนวทางแก้ไขที่ 4 เสนอให้หน่วยงานภาครัฐแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ และพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวกับการเวนคืนที่ดิน ผ่าน รฟม. เสนอผ่านกระทรวงคมนาคมไปยังรัฐสภา
บริษัทอนันดาฯ ร่วมผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืนที่ดิน เพื่อขยายขอบเขตการใช้ที่ดินที่เวนคืนเพื่อประโยชน์อื่นอย่างเหมาะสม โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 1 ปี นับจากวันที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องข้างต้นยกร่างแก้ไขกฎหมาย
แนวทางแก้ไขที่ 5 เสนอให้หน่วยงานภาครัฐแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎกระทรวงฉบับที่ 33 พ.ศ. 2535 ผ่านสำนักการโยธากรุงเทพมหานคร ไปยังกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ไปยังคณะรัฐมนตรี
บริษัทร่วมผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายให้ชัดเจน เพื่อสามารถใช้ที่ดินที่มีลักษณะเป็นภาระติดพันถาวรให้สามารถใช้เป็นทางเข้า-ออกได้ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการแก้ไขประมาณ 3 เดือน นับจากวันที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องข้างต้นยกร่างแก้ไขกฎหมาย

สรุป 5 ประเด็นสำคัญแนวทางแก้ไขแอชตัน อโศก

ทางเข้า-ออกโครงการแอชตัน อโศก (Google Street View)
ข้อมูลจาก Ananda Development