
อัปเดต 5 อันดับทำเลที่ดินเปล่า กรุงเทพ-ปริมณฑล ราคาขยายตัวสูงสุด ไตรมาส 2 ปี 67
26 ส.ค. 2024
1 min read
0
0
0

หากพูดถึงเรื่องทำเลทองหรือทำเลที่มีโอกาสเติบโตและน่าลงทุน บางครั้งอาจไม่ใช่ทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเสมอไป เพราะทำเลที่ดินนอกเมืองหรือบริเวณชานเมืองแต่ก่อนอาจไม่ได้มีมูลค่าสูงมากนัก แต่เมื่อเมืองโตและใหญ่ขึ้น หลายพื้นที่จึงถูกพัฒนาเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ทำให้พื้นที่ชานเมืองหลายแห่งมีแนวโน้มราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอาจกลายเป็นทำเลทองในอนาคตได้อีกด้วย
วันนี้เราเลยพามาอัปเดต 5 อันดับทำเลที่ดินเปล่าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ที่มีราคาขยายตัวสูงสุด อ้างอิงจาก “รายงานดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2567” โดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) พบว่า ทำเลที่ดินเปล่าที่มีราคาขยายตัวสูงสุด ส่วนใหญ่เป็นทำเลที่ดินเปล่าที่อยู่บริเวณพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะพื้นที่โซนกรุงเทพฯฝั่งตะวันตกต่อเนื่องไปจนถึงนครปฐม ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของเมืองไปยังพื้นที่รอบนอก ประกอบกับแผนพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชน รวมถึงโครงการขนส่งมวลชนระบบราง อย่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยทำเลที่ดินเ ปล่าที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ทั้ง 5 อันดับ ได้แก่
อันดับ 1 ที่ดินโซนนครปฐม มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 82.1%
อันดับ 2 ที่ดินโซนกรุงเทพชั้นใน (เขตจตุจักร ห้วยขวาง ยานนาวา วัฒนา คลองเตย พญาไท บางคอแหลม ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางซื่อ ดินแดง ราชเทวี และเขตบางรัก) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินสูงขึ้น 17.8%
อันดับ 3 ที่ดินโซนสมุทรสาคร มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของร าคาที่ดินสูงขึ้น 13.4%
อันดับ 4 ที่ดินโซนตลิ่งชัน บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม ทวีวัฒนา ธนบุรี คลองสาน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 13.3%
อันดับ 5 เมืองปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว สามโคก มีอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินสูงขึ้น 12.6%


ทำเลที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
REIC ยังเผยอีกว่า การที่ราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนามีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง เนื่องมาจากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน ปัจจัยเกี่ยวกับมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ อย่างเช่น การยกเลิกมาตรการผ่อนปรน LTV ปัญหาภาวะหนี้ครัวเรือน ตลอดจนเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย นับเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาปรับตัวเพิ่มขึ้นในทิศทางที่ชะลอตัวลง
*ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม (กำหนดให้ปี 2555 เป็นปีฐาน และจัดทำดัชนีเป็นรายไตรมาส)
โดยราคาที่ดินเปล่าที ่นำมาคำนวณคือราคาเฉลี่ยต่อตารางวา ซึ่งจะคัดเลือกเฉพาะที่ดินเปล่าไม่รวมสิ่งปลูกสร้างที่มีขนาดตั้งแต่ 200 ตารางวาขึ้นไป และใช้ข้อมูลเฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ผู้โอนหรือผู้รับโอนเป็น “นิติบุคคล” เท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก